Last update: 27 ก.ย. 2567 , 15:18

หลักสูตรที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2567

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
          วิศวกรรมโยธา เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการคิด คำนวณ ออกแบบ และดำเนินการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ แทบทุกชนิด มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เมื่อจบการศึกษาและสอบได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธาแล้ว จะสามารถประกอบอาชีพเป็นวิศวกรโยธาตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม นอกจากนั้น ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ และการใช้เหตุผลยังสามารถประยุกต์ใช้กับอาชีพอื่น ๆ ได้ทั่วไป
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6
ค่าธรรมเนียมการศึกษา รายเทอม 23,000 บาท
แนวทางการประกอบอาชีพ
วิศวกรก่อสร้าง วิศวกรโครงการ วิศวกรด้านผลิตภัณฑ์วัสดุ วิศวกร สำรวจเส้นทางในการสร้างถนน หรือระบบขนส่ง ที่ปรึกษางาน ก่อสร้าง ผู้รับเหมา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
          เป็นหลักสูตรทางวิชาชีพที่มุ่งเน้นการประยุกต์องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางวิศวกรรมไฟฟ้า เนื้อหาการเรียนมีทั้งภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติโดยมีเป้าหมายเพื่อประกอบอาชีพวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง, วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร, วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมควบคุมและเครื่องวัดทางอุตสาหกรรม
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี
2) เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่องการรับสมัครคัดเลือกบุคคล เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในแต่ละปีการศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษา รายเทอม 23,000 บาท
แนวทางการประกอบอาชีพ
• หน่วยงานราชการ อาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐ วิศวกรประจำหน่วยงานภาครัฐและกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
• หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ส่วนภูมิภาค นครหลวง สำนักงาน กสทช. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
• งานภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้า วิศวกรประจำโรงงาน วิศวกรออกแบบระบบไฟฟ้า วิศวกรควบคุมดูแลระบบ
• งานอื่น ๆ นักวิจัยและพัฒนาเครื่องมือ สิ่งประดิษฐ์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ประกอบธุรกิจส่วนตัว

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
          หลักสูตรสร้างวิศวกรสิ่งแวดล้อมสำหรับการจัดการมลพิษจากชุมชนและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ควบคุมและบำบัดให้มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่กันไป รวมไปถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ น้ำ อากาศ และดิน ให้มีสภาวะที่เหมาะสมต่อระบบนิเวศ
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์หรือเทียบเท่า หรือ มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อก าหนดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาและจำนวนรับในแต่ละช่องทางการรับเข้าได้แล้วก็จะติดต่อประสานงานไปยังหน่วยงานของคณะเพื่อประสานงานกับมหาวิทยาลัยในการนำเอาข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีต่อไป
ค่าธรรมเนียมการศึกษา รายเทอม 23,000 บาท
แนวทางการประกอบอาชีพ
-  วิศวกรสิ่งแวดล้อมในบริษัทที่ปรึกษา ออกแบบ/บริษัทรับเหมาก่อสร้าง
-  วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม
-  วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม/นักวิชาการ ในหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ
-  วิศวกร/ผู้ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริษัทรับประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
-  ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน (ESG Consultant)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
         หลักสูตรนี้ฯ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะพื้นฐานที่ดีเพียงพอต่อการเรียนรู้ต่อยอดสู่วิทยาการขั้นสูง รวมทั้งมีศักยภาพสูงในการพัฒนาตนเองทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ โดยหลักสูตรฯ มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่จำเป็นต่อการพัฒนาทักษะวิชาชีพทางวิศวกรรมเครื่องกล
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์หรือเทียบเท่า
ค่าธรรมเนียมการศึกษา รายเทอม 23,000 บาท
แนวทางการประกอบอาชีพ
-  วิศวกร ทำหน้าที่ปฏิบัติงานทางวิศวกรรมที่อาศัยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เพื่อออกแบบ ติดตั้ง และควบคุมระบบเครื่องจักรกล ยานพาหนะ และกระบวนการทางอุตสาหกรรม
-  นักบริหารโครงการ ทำหน้าที่บริหารโครงการทางวิศวกรรมหรือโครงการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-  นักวิจัย ทำหน้าที่ดำเนินการวิจัยเพื่อแสวงหาความรู้และวิธีการใหม่ในการพัฒนาระบบทางวิศวกรรม
-  นักวิชาการ ทำหน้าที่การเผยแพร่ความรู้และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานทางวิศวกรรม
-  ประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยสามารถบริหารกิจการที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น งานอนุรักษ์และพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน รวมทั้งระบบถ่ายเทความร้อนและของไหลทุกประเภท งานออกแบบและติดตั้งเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ควบคุมเครื่องจักรกล งานออกแบบและติดตั้งระบบอัตโนมัติ เป็นต้น

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
        เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่มีความซับซ้อนและความสูญเปล่าให้มีความเหมาะสม บรรลุเป้าหมายประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้หลักการและเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการในการวิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุง
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
นักศึกษาไทยที่สำเร็จการศึกษาระดับมัยธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ค่าธรรมเนียมการศึกษา รายเทอม 23,000 บาท /ภาคปกติ
รายเทอม 35,000 บาท/ภาคพิเศษ
แนวทางการประกอบอาชีพ
-  วิศวกรโรงงาน
-  ผู้จัดการโครงการ/นักบริหาร
-  นักวิชาการ
-  นักวิจัย
-  เจ้าของธุรกิจ
-  นักลงทุน
-  นักสร้างเนื้อหา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
         วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม เน้นเรียนด้านธรณีวิทยาเกี่ยวกับแหล่งแร่และปิโตรเลียม วิศวกรรมศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม ทำให้ช่วยพัฒนาศักยภาพและมีความพร้อมเป็นวิศวกรเพื่อเข้าสู่ธุรกิจการผลิตแร่และปิโตรเลียม โดยสามารถใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีศักยภาพสูง อย่างตัวอย่าง การออกแบบและวางแผนการผลิตแร่และน้ำมันดิบด้วยคอมพิวเตอร์ หลังจากสำเร็จการศึกษาผู้เรียนจะมีความพร้อมการปฏิบัติงานและคำนึงถึงความปลอยภัยและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า
ค่าธรรมเนียมการศึกษา รายเทอม 23,000 บาท
แนวทางการประกอบอาชีพ
-  วิศวกรเหมืองแร่
-  วิศวกรปิโตรเลียม
-  อาชีพอิสระ
-  ข้าราชการ
-  พนักงานรัฐวิสาหกิจ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
           วิชาเรียนประกอบไปด้วยวิชาบรรยายและปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ การออกแบบระบบฝังตัว เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ออกแบบให้ผู้เรียนได้ความรู้พื้นฐานที่ครบถ้วน และพร้อมต่อยอดสู่อาชีพใหม่ๆในอนาคต
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ค่าธรรมเนียมการศึกษา รายเทอม 23,000 บาท
แนวทางการประกอบอาชีพ
Security Engineer, Web Engineer, Database Administrator, Software Engineer, Network Administrator, System Administrator, IT Consultants , IT Project Manager, Information Officer, System Analysis, Business Analysis, Information Architect, System Developer, Information Coordiantor, System Architech, Testing Engineer, Network Engineer, System Engineer, Application Engineer

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
            การเรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะเป็นการเรียนในรูปแบบบูรณาการทักษะทางวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการทำงานของหุ่นยนต์ แขนกล ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ นำไปสู่การออกแบบ การสร้างและการพัฒนาหุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการเรียนการสอนในลักษณะบูรณาการองค์ความรู้ โดยเน้นการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้อย่างหลากหลายตามความสนใจของตน
วิชาพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ การเขียนแบบ และภาษาอังกฤษ
วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ ระบบกลศาสตร์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรม พื้นฐานหุ่นยนต์ประเภทต่าง ๆ
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
-  สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์หรือเทียบเท่า หรือ มีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี เมื่อกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาและจำนวนรับในแต่ละช่องทางการรับเข้าได้แล้วก็จะติดต่อประสานงานไปยังหน่วยงานของคณะเพื่อประสานงานกับมหาวิทยาลัยในการนำเอาข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีต่อไป
-  เฉพาะในรอบ TCAS1 รับผู้กำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาช่างอุตสาหกรรมฐานวิทยาศาสตร์ หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ เท่านั้น โดยมีผลการเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1-3 (5 เทอม) ไม่น้อยกว่า 3.50
ค่าธรรมเนียมการศึกษา รายเทอม 29,000 บาท
แนวทางการประกอบอาชีพ
-  วิศวกรในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้า การแพทย์ การเกษตร อาหาร อิเลคทรอนิกส์
-  นักวิเคราะห์ออกแบบหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรกล
-  นักออกแบบวงจรอิเลคทรอนิกส์
-  โปรแกรมเมอร์
-  นักวิจัย

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมบูรณาการ
         หลักสูตรแนวใหม่ที่ให้อิสระผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความสนใจของตน ผู้เรียนสามารถเลือกออกแบบแผนการเรียนด้วยตัวเองโดยบูรณาการองค์ความรู้จากภาควิชาวิศวกรรมต่างๆ ได้ หรือเลือกเรียนแผนการเรียนที่บริษัทชั้นนำวางแผนไว้ให้ เพื่อให้เกิดความรู้และทักษะตรงตามที่ผู้ประกอบการและตลาดแรงงานสมัยใหม่ต้องการ
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
ค่าธรรมเนียมการศึกษา รายเทอม 23,000 บาท
แนวทางการประกอบอาชีพ
-  วิศวกร
-  ผู้ประกอบการ
-  นักวิจัย
-  นักประดิษฐ์อิสระ
-  ที่ปรึกษาเฉพาะทาง
-  นักพัฒนา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)
          หลักสูตรวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ) พัฒนาความรู้ทฤษฎีและทักษะปฏิบัติ เตรียมนักเรียนสู่การประยุกต์ใช้ในการนวัตกรรมเทคโนโลยีในอนาคต เน้นด้านวิศวกรรมโยธาเฉพาะทาง เช่น การบริหารจัดการวิศวกรรมทางรถไฟ, BIM, การวางผังเมืองอัจฉริยะ, การจัดการภัยพิบัติ, และการก่อสร้างด้วยวัสดุท้องถิ่น
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
สำหรับนักเรียนจากสถาบันในประเทศไทย
-  จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หรือเทียบเท่าในระบบการศึกษามัธยมศึกษาของไทย หรือ
-  จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาในปีสุดท้ายของโรงเรียนมัธยมศึกษา (เกรด 12 ในระบบของสหรัฐอเมริกาหรือปี 13 ในระบบของสหราชอาณาจักร) ในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย
สำหรับนักเรียนจากต่างประเทศหรือนักเรียนที่ถือวุฒิ GED กรุณาตรวจสอบรายการระบบเทียบเท่าการศึกษามัธยมศึกษาใน https://admission.reg.cmu.ac.th/reg-ipas/files/Annex_1.pdf
คุณสมบัติความสามารถทางภาษาอังกฤษ
-  เจ้าของภาษา (ที่พูดภาษาอังกฤษ) ได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดนี้
-  ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา จะได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้: มาจากประเทศที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ / จบหลักสูตรนานาชาติหรือสำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
รายเทอม 50,000 บาท/สำหรับนักศึกษาไทย
รายงานเทอม 70,000 บาท/สำหรับนักศึกษาต่างชาติ
แนวทางการประกอบอาชีพ
-  เจ้าหน้าที่ควบคุมอาคาร
-  วิศวกรโยธาที่ปรึกษา
-  วิศวกรโยธาผู้รับเหมา
-  วิศวกรปฐพีศาสตร์
-  วิศวกรทางหลวง
-  วิศวกรไฮดรอลิกและทรัพยากรน้ำ
-  ผู้จัดการโครงการ
-  เจ้าหน้าที่ภาครัฐ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (หลักสูตรนานาชาติ)
         หลักสูตรนี้เสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ยานยนต์ไฟฟ้า IoT AI ผ่านการเรียนการสอนและกิจกรรมนอกหลักสูตร โดยมีความร่วมมือกับหน่วยงานการไฟฟ้าของประเทศเช่น กฟผ., กฟน., และ กฟภ.
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
สำหรับนักเรียนจากสถาบันในประเทศไทย
-  จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หรือเทียบเท่าในระบบการศึกษามัธยมศึกษาของไทย หรือ
-  จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาในปีสุดท้ายของโรงเรียนมัธยมศึกษา (เกรด 12 ในระบบของสหรัฐอเมริกาหรือปี 13 ในระบบของสหราชอาณาจักร) ในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย
สำหรับนักเรียนจากต่างประเทศหรือนักเรียนที่ถือวุฒิ GED กรุณาตรวจสอบรายการระบบเทียบเท่าการศึกษามัธยมศึกษาใน https://admission.reg.cmu.ac.th/reg-ipas/files/Annex_1.pdf
คุณสมบัติความสามารถทางภาษาอังกฤษ
- เจ้าของภาษา (ที่พูดภาษาอังกฤษ) ได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดนี้

- ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา จะได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้: มาจากประเทศที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ / จบหลักสูตรนานาชาติหรือสำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
รายเทอม 50,000 บาท/สำหรับนักศึกษาไทย
รายงานเทอม 70,000 บาท/สำหรับนักศึกษาต่างชาติ
แนวทางการประกอบอาชีพ
-  วิศวกรไฟฟ้าผู้ควบคุมระบบไฟฟ้า
-  วิศวกรพลังงานและการจัดการพลังงาน
-  วิศวกรโครงการไฟฟ้า
-  วิศวกรสินทรัพย์ไฟฟ้า
-  วิศวกรออกแบบระบบไฟฟ้า
-  วิศวกรภาคสนามไฟฟ้า
-  วิศวกรซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบริหารโครงการวิศวกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
           หลักการสำคัญของหลักสูตรคือการจัดการเรียนการสอนเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมสมัยใหม่ นวัตกรรม และวิทยาการแห่งอนาคต โดยปลูกฝังให้นักศึกษามีความรอบรู้ มีทักษะเชิงสหสาขาในการประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคนิคสมัยใหม่ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมเครื่องกล
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
สำหรับนักเรียนจากสถาบันในประเทศไทย
- จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หรือเทียบเท่าในระบบการศึกษามัธยมศึกษาของไทย หรือ
- จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาในปีสุดท้ายของโรงเรียนมัธยมศึกษา (เกรด 12 ในระบบของสหรัฐอเมริกาหรือปี 13 ในระบบของสหราชอาณาจักร) ในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย
สำหรับนักเรียนจากต่างประเทศหรือนักเรียนที่ถือวุฒิ GED กรุณาตรวจสอบรายการระบบเทียบเท่าการศึกษามัธยมศึกษาใน https://admission.reg.cmu.ac.th/reg-ipas/files/Annex_1.pdf
คุณสมบัติความสามารถทางภาษาอังกฤษ
- เจ้าของภาษา (ที่พูดภาษาอังกฤษ) ได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดนี้
- ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา จะได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้: มาจากประเทศที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ / จบหลักสูตรนานาชาติหรือสำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
รายเทอม 50,000 บาท/สำหรับนักศึกษาไทย
รายงานเทอม 70,000 บาท/สำหรับนักศึกษาต่างชาติ
แนวทางการประกอบอาชีพ
-  วิศวกร ทำหน้าที่ปฏิบัติงานทางวิศวกรรมที่อาศัยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เพื่อออกแบบ ติดตั้ง และควบคุมระบบเครื่องจักรกล ยานพาหนะ และกระบวนการทางอุตสาหกรรม
-  นักบริหารโครงการ ทำหน้าที่บริหารโครงการทางวิศวกรรมหรือโครงการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-  นักวิจัย ทำหน้าที่ดำเนินการวิจัยเพื่อแสวงหาความรู้และวิธีการใหม่ในการพัฒนาระบบทางวิศวกรรม
-  นักวิชาการ ทำหน้าที่การเผยแพร่ความรู้และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานทางวิศวกรรม
-  ประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยสามารถบริหารกิจการที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น งานอนุรักษ์และพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน รวมทั้งระบบถ่ายเทความร้อนและของไหลทุกประเภท งานออกแบบและติดตั้งเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ควบคุมเครื่องจักรกล งานออกแบบและติดตั้งระบบอัตโนมัติ เป็นต้น

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์ (หลักสูตรนานาชาติ)
          หลักสูตรนี้ จะขยายมุมมองของนักศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมใน Supply Chain ต่างๆ ตั้งแต่วัสดุ การผลิต
การจัดการอุตสาหกรรม และการขนส่ง โดยเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ในสองด้าน คือ
การวิเคราะห์ข้อมูลและระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
สำหรับนักเรียนจากสถาบันในประเทศไทย
- จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หรือเทียบเท่าในระบบการศึกษามัธยมศึกษาของไทย หรือ
- จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาในปีสุดท้ายของโรงเรียนมัธยมศึกษา (เกรด 12 ในระบบของสหรัฐอเมริกาหรือปี 13 ในระบบของสหราชอาณาจักร) ในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย
สำหรับนักเรียนจากต่างประเทศหรือนักเรียนที่ถือวุฒิ GED กรุณาตรวจสอบรายการระบบเทียบเท่าการศึกษามัธยมศึกษาใน https://admission.reg.cmu.ac.th/reg-ipas/files/Annex_1.pdf
คุณสมบัติความสามารถทางภาษาอังกฤษ
- เจ้าของภาษา (ที่พูดภาษาอังกฤษ) ได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดนี้
- ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา จะได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้: มาจากประเทศที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ / จบหลักสูตรนานาชาติหรือสำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
รายเทอม 50,000 บาท/สำหรับนักศึกษาไทย
รายงานเทอม 70,000 บาท/สำหรับนักศึกษาต่างชาติ
แนวทางการประกอบอาชีพ
-  ภาคเอกชน เช่น ผู้จัดการโรงงาน ผู้จัดการโลจิสติกส์ วิศวกรคุณภาพ วิศวกรความปลอดภัย วิศวกรควบคุมกระบวนการ วิศวกรระบบ วิศวกรออกแบบ วิศวกรโครงการ วิศวกรโลจิสติกส์ วิศวกรการเงิน/จัดซื้อจัดหา วิศวกรคลังสินค้าและการกระจายสินค้า หรือ ผู้ประกอบการและเจ้าของกิจการ
-  หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม (DIW), การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย (หลักสูตรนานาชาติ)
          หลักสูตรวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย นักเรียนจะได้เรียนรู้ทั้งทักษะทางเทคนิคและภาษา ผสมผสานความรู้ IT จากหลากหลายสาขา โปรแกรมยังให้ความรู้ในด้าน Organizational Issues & Information Systems Management ที่ไม่มีสอนในหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทั่วไปอีกด้วย และสาขาวิชาทางวิศวกรรม ที่สำคัญต่อการขยายตัวของการเชื่อมต่อและข้อมูล เพื่อรองรับธุรกิจอุตสาหกรรมไอที สำหรับผู้สนใจในเทคโนโลยีเครือข่าย การจัดการและออกแบบการเชื่อมต่อด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ในโลกดิจิทัล ให้เกิดการเรียนรู้ คิด วิเคราะห์ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อพร้อมต่อการทำงานในระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครเรียน
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้
สำหรับนักเรียนจากสถาบันในประเทศไทย
- จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หรือเทียบเท่าในระบบการศึกษามัธยมศึกษาของไทย หรือ
- จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาในปีสุดท้ายของโรงเรียนมัธยมศึกษา (เกรด 12 ในระบบของสหรัฐอเมริกาหรือปี 13 ในระบบของสหราชอาณาจักร) ในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย
สำหรับนักเรียนจากต่างประเทศหรือนักเรียนที่ถือวุฒิ GED กรุณาตรวจสอบรายการระบบเทียบเท่าการศึกษามัธยมศึกษาใน https://admission.reg.cmu.ac.th/reg-ipas/files/Annex_1.pdf
คุณสมบัติความสามารถทางภาษาอังกฤษ
- เจ้าของภาษา (ที่พูดภาษาอังกฤษ) ได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดนี้
- ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา จะได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้: มาจากประเทศที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ / จบหลักสูตรนานาชาติหรือสำเร็จการศึกษาจากสถาบันที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเรียนการสอน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
รายเทอม 50,000 บาท/สำหรับนักศึกษาไทย
รายงานเทอม 70,000 บาท/สำหรับนักศึกษาต่างชาติ
แนวทางการประกอบอาชีพ
ผู้ที่จบจากหลักสูตร ISNE สามารถประกอบอาชีพที่หลากหลายได้ในสายงาน IT เช่น พัฒนาแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ วิศวกรซอฟต์แวร์ วิศวกรข้อมูล หรือในสายงานที่เกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Security) การออกแบบและจัดการระบบเครือข่าย รวมไปถึง Business Intelligence
Security Engineer, System Administrator, IT Consultant, IT Project Manager, Systems Analyst, Information Coordinator, System Architect, Network Engineer, System Engineer, Security Analyst, Security Enginee

นศ. วิศวฯ มช. สุดเจ๋ง ! คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2566 เกมการแข่งขัน “โปรยบุปภาบนนภาเหนือนครวัด”
นักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ทีม REAI CMU: Mahout คว้าชัยในการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ ประเทศไทยประจำปี 2566 และได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต เมื่อวันที่ 10 - 11 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ภายใต้รูปแบบการแข่งขัน “โปรยบุปผาบนนภาเหนือนครวัด”
การแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ซึ่งใช้กติกาการแข่งขันเดียวกันกับ การแข่งขัน ABU ASIA-PACIFIC ROBOT CONTEST
ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ หรือ Robotics Engineering and Artificial Intelligence เป็นสาขาที่มุ่งเน้นการบูรณาการทักษะทางกล ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และอุตสาหการ สามารถต่อยอดได้หลากหลาย เรียนสนุก ได้ลงมือทำ ลงมือสร้างของจริง แก้ปัญหาจริง จึงสนับสนุนและส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาได้ลงสนามจริงในครั้งนี้ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของทีมนักศึกษา และคณาจารย์ผู้ให้การฝึกฝนจนประสบความสำเร็จคว้าแชมป์การแข่งขันครั้งนี้จนได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อไปแข่งขันในระดับที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงระดับโลก

ข้อมูลการรับเข้าศึกษา TCAS

สามารถดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์
สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

งานบริการการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ : 053-944179
เว็บไซต์ : https://eng.cmu.ac.th/
Facebook : Entaneer Academy

ดาวน์โหลด PDF:

ยังไม่มีไฟล์ดาวน์โหลด

คณะวิศวกรรมศาสตร์

  • ดาวน์โหลด PDF: ยังไม่มีไฟล์ดาวน์โหลด