Last update: 20 พ.ย. 2566 , 09:34

หลักสูตรที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2567

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
         เรียนอะไรในวิศวกรรมโยธา...?
• ปี 1 วิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม เศรษฐศาสตร์
• ปี 2 พื้นฐานทางวิศวกรรม เช่น กลศาสตร์ การคำนวณ
• ปี 3 พื้นฐานเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา เช่น วัสดุ-ทฤษฏีก่อสร้าง ทฤษฏีการออกแบบ
• ปี 4 วิชาประยุกต์สำหรับการประกอบวิชาชีพ เช่น การออกแบบอาคาร ถนน สะพาน เทคนิคและการจัดการงานก่อสร้าง
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)
          เรียนอะไรในวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)...?
• ปี 1 วิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม เศรษฐศาสตร์
• ปี 2 พื้นฐานทางวิศวกรรม เช่น กลศาสตร์ การคำนวณ
• ปี 3 พื้นฐานเฉพาะด้านวิศวกรรมโยธา เช่น วัสดุ-ทฤษฏีก่อสร้าง ทฤษฏีการออกแบบ
• ปี 4 เลือกความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้แก่ วิศวกรรมขนส่งและวิศวกรรมทางราง เทคโนโลยีอัจฉริยะในวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมโยธาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ การบูรณาการการเรียนรู้จากหลายวิชา ฝึกการทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
          เรียนอะไรในวิศวกรรมไฟฟ้า...?
• ประยุกต์ความรู้ด้านฟิสิกส์ คณิตศาสตร์เกี่ยวกับ สัญญาณ วงจรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุม เพื่อพัฒนา ประดิษฐ์ แก้ไข ปัญหาทางวิศวกรรม นําไปสู่คุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีขึ้น
• การเรียนจะแยกเป็น 2 แขนง ได้แก่
o ไฟฟ้าสื่อสาร เน้นการพัฒนาระบบและเทคโนโลยีให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ทุกที่ทุกเวลา เน้นหลักการการสื่อสารโทรคมนาคม การประมวลผลสัญญาณ การประมวลผลภาพ การออกแบบอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์
o ไฟฟ้ากำลัง เป็นการพัฒนาระบบและเทคโนโลยีให้สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เน้นการออกแบบระบบไฟฟ้า การผลิตและการส่งจ่ายไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าแรงสูง เครื่องจักรกลไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลัง
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (หลักสูตรนานาชาติ)
          เรียนอะไรในวิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ...?
• วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และความน่าจะเป็นและสถิติ
• วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม ได้แก่ การเขียนแบบ วัสดุ กลศาสตร์ และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
• วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้า ได้แก่ วงจรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า สนามและคลื่นแม่เหล็ก การวิเคราะห์สัญญาณ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ระบบเฟ้นสุ่ม การผลิต การส่ง และการจ่ายกำลังไฟฟ้า หลักการระบบสื่อสาร ระบบควบคุม และพื้นฐานปฏิบัติการทางวิศวกรรมไฟฟ้า
• วิชาความรู้เฉพาะทางวิศวกรรม งานไฟฟ้ากำลัง ได้แก่ การวิเคราะห์ระบบกำลังไฟฟ้า การออกแบบระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลัง และเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัว
• วิชาประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ได้แก่ เทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ, การดำเนินการและการควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าอัจฉริยะ ข่ายการสื่อสารสำหรับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ปัญญาประดิษฐ์และอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งทางโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ และปฏิบัติการเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
          เรียนอะไรในวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม...?
•วิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น แคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ
•วิชาทางด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบบำบัดน้ำเสียและการออกแบบระบบผลิตน้ำประปาและการออกแบบ การจัดการขยะ การบำบัดมลพิษทางอากาศ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นต้น
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
         เรียนอะไรในวิศวกรรมเครื่องกล...?
•วิชาพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ การเขียนแบบ วัสดุ และกลศาสตร์
•วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล เช่น ของแข็งและของไหล พลังงานและความร้อน การเคลื่อนที่และการออกแบบเครื่องจักร เครื่องยนต์และยานยนต์ การเขียนแบบและการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์
•วิชาประยุกต์ทางวิศวกรรมเครื่องกล เช่น ระบบปรับอากาศ การควบคุมอัตโนมัติ กระบวนการผลิต การเผาไหม๊
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบริหารโครงการวิศวกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
            เรียนอะไรในวิศวกรรมเครื่องกลและการบริหารโครงการวิศวกรรม...?
•วิชาพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ การเขียนแบบ และวัสดุศาสตร์
•วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกล เช่น เทอร์โมไดนามิกส์ กลศาสตร์ของแข็งและของไหล พลศาสตร์ การถ่ายเทความร้อน การสั่นสะเทือนเชิงกล การควบคุมอัตโนมัติ
•วิชาประยุกต์ทางวิศวกรรมเครื่องกล เช่น การออกแบบ ติดตั้ง ควบคุม และซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ระบบการผลิตอัตโนมัติ ระบบทำความเย็น ยานยนต์และอากาศยาน
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
        เรียนอะไรในวิศวกรรมอุตสาหการ...?
•ทักษะและความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรม
•ความรู้เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับสายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประกอบด้วย การผลิต โลจิสติกส์ ขนส่ง ระบบอัตโนมัติ และการวิเคราะห์ข้อมูล ผ่านกระบวนวิชาดังเช่น กระบวนการผลิตสมัยใหม่ วิศวกรรมการส่งลำเลียงและการจัดการ การจัดการสินค้าคงคลัง การขนส่งและการกระจายสินค้า การวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม และ องค์การและการจัดการงานอุตสาหกรรม
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์ 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์ (หลักสูตรนานาชาติ)
           เรียนอะไรในวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์...?
หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานความรู้จากทั้งวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่ด้านวัสดุ ด้านการผลิต ด้านการจัดการอุตสาหกรรม รวมถึงด้านคงคลังและการขนส่ง ทำให้มีความเข้าใจในระบบที่ครบถ้วนและมีความคล่องตัวสูงในการปรับตัวเข้ากับหน้าที่ได้หลายรูปแบบในองค์กร
หลักสูตรมีกระบวนวิชาหลักที่โดดเด่นในการตอบโจทย์อุตสาหกรรมยุค 4.0 ในสองด้าน ด้านแรกคือด้านการวิเคราะห์ข้อมูล หลักสูตรมีกระบวนวิชาที่ผสมผสานความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ข้อมูลเช่นเหมืองข้อมูลและการเรียนรู้ของเครื่อง ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและมีความสามารถในการใช้เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันสมัย และด้านที่สองคือด้านระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม หลักสูตรมีกระบวนวิชาและระบบจำลองสำหรับการเรียนการสอนในด้านระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์และความคุ้นเคยในเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับการบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สูงขึ้น
•ทักษะและความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรม
•ความรู้เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับสายงานวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์ อันประกอบด้วย การผลิต โลจิสติกส์ ขนส่ง ระบบอัตโนมัติ และการวิเคราะห์ข้อมูล ผ่านกระบวนวิชาดังเช่น กระบวนการผลิตสมัยใหม่ วิศวกรรมการส่งลำเลียงและการจัดการ การจัดการสินค้าคงคลัง การขนส่งและการกระจายสินค้า การวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม และ องค์การและการจัดการงานอุตสาหกรรม
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
          เรียนอะไรในวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม...?
•ประเมินความสบูรณ์ของแหล่งแร่และแหล่งปิโตรเลียม
•ออกแบบและวางแผนการทำเหมืองเปิดและเหมืองใต้ดิน
•การออกแบบผังระเบิดและการเจาะอุโมงค์
•ออกแบบและวางแผนการเจาะหลุมเพื่อสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
•การแต่งแร่ เพื่อให้ได้แร่คุณภาพสูง
•การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์เหมืองแร่และปิโตรเลียม
•การฟื้นฟูแหล่งผลิตแร่และปิโตรเลียม กลับคืนสู่ธรรมชาติ
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
          เรียนอะไรในวิศวกรรมคอมพิวเตอร์...?
•พื้นฐานวิศวกรรมทั่วไป
•พื้นฐานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ
•ซอฟต์แวร์ เช่น การเขียนโปรแกรม วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศฮาร์ดแวร์ (ระบบไมโครโพรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์ ระบบควบคุมอัตโนมัติ การออกแบบฮาร์ดแวร์)
•เครือข่าย เช่น ระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายไร้สาย ความปลอดภัยเครือข่าย
•เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ความฉลาดทางการคำนวณ การประมวลสัญญาณภาพ/เสียง/วีดิโอคอมพิวเตอร์กราฟิก แอนิเมชั่น การจำลองสถานการณ์ หลักสูตรนานาชาติ
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์ 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเละและเครือข่าย (หลักสูตรนานาชาติ)
           เรียนอะไรในวิศวกรรระบบสารสนเทศและเครือข่าย...?
•พื้นฐานวิศวกรรมทั่วไป
•พื้นฐานวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการ
•ซอฟต์แวร์ เช่น วิศวกรรมซอฟต์แวร์ การพัฒนาระบบสารสนเทศ การทดสอบซอฟต์แวร์
•เครือข่าย เช่น ระบบเครือข่าย เครือข่ายไร้สาย ความปลอดภัยเครือข่าย
•การจัดการ เช่น การบริหารจัดการโครงการ การดูแลรักษาระบบสารสนเทศ
•เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ความฉลาดทางการคำนวณ การประมวลสัญญาณภาพ/เสียง/วีดิโอคอมพิวเตอร์กราฟิก แอนิเมชั่น การจำลองสถานการณ์ ระบบฝังตัว ระบบควบคุมอัตโนมัติ
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
            เรียนอะไรในวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์...?
การเรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะเป็นการเรียนในรูปแบบบูรณาการทักษะทางวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการทำงานของหุ่นยนต์ แขนกล ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์ นำไปสู่การออกแบบ การสร้างและการพัฒนาหุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการเรียนการสอนในลักษณะบูรณาการองค์ความรู้ โดยเน้นการลงมือปฏิบัติจริง ทำให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้อย่างหลากหลายตามความสนใจของตน
•วิชาพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ การเขียนแบบ วัสดุวิศวกรรม และภาษาอังกฤษ
•วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ ระบบกลศาสตร์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรม พื้นฐานหุ่นยนต์ประเภทต่าง ๆ
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมบูรณาการ
         เรียนอะไรในวิศวกรรมบูรณาการ...?
การเรียนในสาขาวิชาวิศวกรรมบูรณาการนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนวิชาทางด้านวิศวกรรมได้หลากหลายสาขาตามความสนใจและความถนัดของตนเอง สาขาวิชาวิศวกรรมบูรณาการจึงได้มุ่งเน้นการเรียนรู้ในแบบบูรณาการองค์ความรู้วิศวกรรมหลายแขนง ได้แก่ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และรองรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ 5 อุตสาหกรรมหลัก ดังนี้ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
•วิชาพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
•วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม ได้แก่ การเขียนแบบทางวิศวกรรม พื้นฐานการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ วัสดุวิศวกรรม เทคโนโลยีโรงงาน กลศาสตร์วิศวกรรม วิศวกรรมไฟฟ้าพื้นฐาน การปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร การสร้างนวัตกรรมเพื่อออกสู่ตลาด ทักษะสำหรับการปฏิบัติงานแบบมืออาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ
•วิชาในกลุ่มวิชาเลือก ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนต่อยอดจากกระบวนวิชาในสาขาวิชา/ภาควิชาที่ตนมีความสนใจและมีความถนัด ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา
>>>> เปิดรับสมัครนักเรียนที่สำเร็จแผนการศึกษา : สายวิทย์

เรียนจบแล้วทำอะไรได้บ้าง?

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
1. การวางแผนและควบคุมงานก่อสร้าง
2. ผู้ออกแบบ
3. ผู้ก่อสร้าง
4. ผู้ลงทุน และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
1. วิศวกรดูแลระบบโทรคมนาคม ระบบสื่อสารในองค์กรต่างๆ
2. วิศวกรดูแลควบคุมการผลิต ส่งจ่ายไฟฟ้า
3. วิศวกรควบคุมระบบไฟฟ้าและติดตั้ง บำรุงรักษาในโรงงานอุตสาหกรรม
4. วิศวกรทดสอบและวิจัยผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า
5. วิศวกรที่ปรึกษา วางแผนการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
6. วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม
7. ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ อาจารย์ในสถาบันการศึกษา
8. กิจการส่วนตัว เช่น ผู้รับเหมา นักออกแบบ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (หลักสูตรนานาชาติ)
1. วิศวกรไฟฟ้าด้านเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ
2. วิศวกรไฟฟ้ากำลัง ด้านการผลิตส่งและจำหน่ายไฟฟ้าในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, โรงไฟฟ้าเอกชน หรือหน่วยงานราชการ
3. วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ด้านการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
4. วิศวกรด้านสมองกลฝังตัวและปัญญาประดิษฐ์
5. วิศวกรด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบไฟฟ้า
6. วิศวกรด้านการควบคุมงานติดตั้งและการเลือกวัสดุให้แก่บริษัทก่อสร้าง
7. วิศวกรในสถานประกอบการอุตสาหกรรมฝ่ายระบบควบคุมการผลิตหรือซ่อมบำรุง
8. วิศวกร ผู้จัดการโครงการ/ผู้จัดการฝ่ายควบคุม/ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม/ฝ่ายบริการ/ฝ่ายวิจัยและพัฒนา /ฝ่ายขาย
9. ครู อาจารย์ นักวิจัยในหน่วยงานของภาครัฐเอกชน
10. ประกอบธุรกิจส่วนตัวในด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
1. นางช่างเครื่องกลทำงานได้อย่างกว้างขวางและหลากหลาย เช่น เป็นผู้ออกแบบ ผู้ผลิต ผู้ควบคุมการทำงาน ผู้ดูแล ผู้ตรวจสอบ และผู้บำรุงรักษา อุปกรณ์และระบบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมเครื่องกล
2. ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานราชการ หรือแม้กระทั่งเป็นเจ้าของกิจการส่วนตัว
3. ทำงานเป็น “วิศวกรควบคุม” เพื่อทำงานพิเศษต่างๆ ตามที่สภาวิศวกรกำหนด

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบริหารโครงการวิศวกรรม
1. วิศวกร หรืองานทางวิศวกรรมที่อาศัยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพื่อออกแบบ ติดตั้ง และควบคุมระบบเครื่องจักรกล ยานพาหนะ และกระบวนการทางอุตสาหกรรม
2. นักบริหาร : การบริหารโครงการทางวิศวกรรมหรือโครงการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. นักวิจัย: งานวิจัยและพัฒนาระบบทางวิศวกรรม
3. นักวิชาการ: การเผยแพร่ความรู้และให้คำปรึกษางานทางวิศวกรรม
4. ประกอบธุรกิจส่วนตัว : การบริหารกิจการที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
1. หน่วยงานราชการ เช่น การควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมอนามัย กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เทศบาลต่างๆ ทำหน้าที่ออกแบบ ควบคุม ตรวจสอบ
2. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การประปา การไฟฟ้า ทำหน้าที่ควบคุมกำกับ และตรวจสอบการเดินระบบ
3. หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (ศึกษาโครงการ ออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง ทดสอบระบบ) บริษัทรับจ้างเดินทางระบบบำบัดน้ำเสีย
4. ภาคอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมทุกแห่งต้องมีวิศวกรสิ่งแวดล้อมประจำอย่างน้อย 1 คน ทำหน้าที่ออกแบบ ควบคุมกำกับ ตรวจสอบ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
1. สายงานในโรงงานอุตสาหกรรม : วิศวกรการผลิต วิศวกรควบคุมคุณภาพ วิศวกรโรงงาน วิศวกรซ่อมบำรุง ระบบบริหารจัดการและประกันคุณภาพในองค์กร
2. สายงานในธุรกิจการเงิน/ธนาคาร : นักวิเคราะห์และบริหารจัดการความเสี่ยง วิศวกรวิเคราะห์ระบบการทำงาน
3. สายงานวิชาการ : อาจารย์ นักวิจัย
4. เจ้าของกิจการ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์
1. สายงานในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ผู้จัดการโรงงาน และผู้จัดการฝ่ายโลจิสติกส์ วิศวกรควบคุมคุณภาพ วิศวกรความปลอดภัย วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต วิศวกรระบบ วิศวกรออกแบบ วิศวกรโครงการ วิศวกรโลจิสติกส์วิศวกรภาคการเงิน/จัดซื้อ วิศวกรด้านการขนส่งและบริการโลจิสติกส์ วิศวกรด้านคลังสินค้าและกระจายสินค้า
2. สายงานในภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ เช่น กรมโรงงาน การนิคมอุตสาหกรรม สานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
3. สายงานวิชาการ : อาจารย์ นักวิจัย
4. เจ้าของกิจการ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
วิศวกรเหมืองแร่ เป็นหนึ่งในสาขาของวิศวกรรมศาสตร์ที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุม สามารถทำงานได้ในองค์กรเอกชนทั้งต่างประเทศและในประเทศ เช่น SCG. บมจ.บ้านปู, PTT international เหมืองขนาดกลางและเล็กทั่วไทย หรือแม้แต่เป็นข้าราชการ ในกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม หรือเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย เช่น วิศวกรระบบคอมพิวเตอร์/ซอฟต์แวร์/ระบบเครือข่าย นักวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเป็นเจ้าของกิจการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย (หลักสูตรนานาชาติ)
สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย เช่น วิศวกรระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่าย นักวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเป็นเจ้าของกิจการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
1. วิศวกรในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้า การแพทย์ การเกษตร อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
2. วิศวกรออกแบบและวิเคราะห์ระบบหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรกล
3. นักออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
4. ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
5. โปรแกรมเมอร์สำหรับระบบหุ่นยนต์และระบบปัญญาประดิษฐ์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมบูรณาการ
1. วิศวกร
2. ผู้ประกอบการ
3. นักวิจัย
4. นักประดิษฐ์อิสระ

ค่าเล่าเรียน

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมบูรณาการ
ภาคการศึกษาละ 23,000 บาท/ภาคปกติ
ภาคการศึกษาละ 11,500 บาท/ภาคฤดูร้อน
ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ภาคการศึกษาละ 23,000 บาท/ภาคปกติ
ภาคการศึกษาละ 11,500 บาท/ภาคฤดูร้อน (ภาคปกติ)
ภาคการศึกษาละ 35,000 บาท/ภาคพิเศษ
ภาคการศึกษาละ 17,500 บาท/ภาคฤดูร้อน (ภาคพิเศษ)
ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบริหารโครงการวิศวกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย(หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์ (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (หลักสูตรนานาชาติ)
นักศึกษาไทย และนักศึกษาไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ภาคการศึกษาละ 50,000 บาท/ภาคปกติ
นักศึกษาสัญชาติอื่น ภาคการศึกษาละ 70,000 บาท/ภาคปกติ
นักศึกษาไทย และนักศึกษาไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท/ภาคฤดูร้อน
นักศึกษาสัญชาติอื่น ภาคการศึกษาละ 33,000 บาท/ภาคฤดูร้อน
ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
ภาคการศึกษาละ 29,000 บาท/ภาคปกติ
ภาคการศึกษาละ 14,500 บาท/ภาคฤดูร้อน
ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2566

 

 

นศ. วิศวฯ มช. สุดเจ๋ง ! คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2566 เกมการแข่งขัน “โปรยบุปภาบนนภาเหนือนครวัด”
นักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ทีม REAI CMU: Mahout คว้าชัยในการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ ประเทศไทยประจำปี 2566 และได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต เมื่อวันที่ 10 - 11 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ภายใต้รูปแบบการแข่งขัน “โปรยบุปผาบนนภาเหนือนครวัด”
การแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ที่ จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ซึ่งใช้กติกาการแข่งขันเดียวกันกับ การแข่งขัน ABU ASIA-PACIFIC ROBOT CONTEST
ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ หรือ Robotics Engineering and Artificial Intelligence เป็นสาขาที่มุ่งเน้นการบูรณาการทักษะทางกล ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และอุตสาหการ สามารถต่อยอดได้หลากหลาย เรียนสนุก ได้ลงมือทำ ลงมือสร้างของจริง แก้ปัญหาจริง จึงสนับสนุนและส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาได้ลงสนามจริงในครั้งนี้ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของทีมนักศึกษา และคณาจารย์ผู้ให้การฝึกฝนจนประสบความสำเร็จคว้าแชมป์การแข่งขันครั้งนี้จนได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อไปแข่งขันในระดับที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงระดับโลก

ข้อมูลการรับเข้าศึกษา TCAS

สามารถดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์
สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

งานบริการการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ : 053-944179
เว็บไซต์ : https://eng.cmu.ac.th/
Facebook : Entaneer Academy

ดาวน์โหลด PDF:

ยังไม่มีไฟล์ดาวน์โหลด

คณะวิศวกรรมศาสตร์

  • ดาวน์โหลด PDF: ยังไม่มีไฟล์ดาวน์โหลด