Last update: 22 พ.ย. 2566 , 09:41

หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2567

มีทั้งหมด 9 หลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะไทยและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ : Bachelor of Fine Arts (Thai Arts and Creative Cultures)
        เน้นการเรียนรู้ ต่อยอด และปฏิบัติการสร้างสรรค์จากศิลปะและวัฒนธรรมไทย ล้านนา และลุ่มน้ำโขง โดยผู้เรียนสามารถเลือกกลุ่มวิชาเอกตามความสนใจได้แก่ การจัดการศิลปวัฒนธรรม ศิลปะไทยร่วมสมัย และประวัติศาสตร์ศิลป์

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ : Bachelor of Fine Arts (Design)
          มุ่งเน้นการศึกษา พัฒนาและนำเสนองานออกแบบในหลากหลายมิติ ผ่านการบูรณาการความรู้และภูมิปัญญาล้านนา พร้อมกับองค์ความรู้อันเป็นสหวิทยาการทางด้านการออกแบบและการวิจัย การบริหารจัดการ เทคโนโลยีดิจิทัล สิ่งแวดล้อม และศาสตร์ต่างๆ

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง : Bachelor of Fine Arts (Performing Arts)
          มุ่งเน้นการเรียนรู้ทฤษฎีทางด้านศิลปะการแสดงควบคู่กับการฝึกปฏิบัติ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนำองค์ความรู้ทางด้านศิลปะการแสดงมาบูรณาการในการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อนำไปพัฒนาการทำงานร่วมกับชุมชน
และสังคม

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ : Bachelor of Fine Arts (Printmaking)
          มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์ในหลากหลายเทคนิค ส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักรู้ถึงคุณค่าในการสร้างสรรค์ผลงาน มีความเข้าใจในแก่นสาระของศิลปะภาพพิมพ์ทั้งแนวอนุรักษ์ และประยุกต์ ตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสายงานและการประกอบอาชีพได้อย่างเชี่ยวชาญและเป็นเลิศทั้งในประเทศและต่างประเทศ

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม : Bachelor of Fine Arts (Painting)
          เหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม เน้นการศึกษา องค์ความรู้ ทักษะและความคิดสร้างสรรค์ทางจิตรกรรมตามปัจเจกภาพ สร้างสรรค์ศิลปะอย่างมีอิสระ และมีการบูรณาการ เชื่อมโยงความรู้เท่าทันต่อกระแสโลกในยุคปัจจุบัน มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ให้ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัย ท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม นำคุณประโยชน์ทางศิลปะสู่สังคม

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาประติมากรรม : Bachelor of Fine Arts (Sculpture)
          มุ่งเน้นการเรียนการสอนทางศิลปะที่มีผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง โดยนำเอาภูมิปัญญาดั้งเดิมของภูมิภาคมาเป็นรากฐานในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านประติมากรรม และบูรณาการเข้ากับภูมิปัญญาร่วมสมัยในแขนงต่างๆเพื่อนำไปสู่รูปแบบการสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติที่มีคุณภาพอยู่ในระดับมาตรฐานสากล 

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ : Bachelor of Fine Arts (Multidisciplinary Art)
          ประกอบสร้างการศึกษาด้วยแก่นแกน art + philosophy + science ในแนวทางสหศาสตร์ศิลป์ที่มีความสอดคล้องกับสังคม ปรัชญา และศาสตร์อื่นตามหลักการผสานศาสตร์ โดยไม่จำกัดประเภทและวิธีการภายใต้กาล/เทศะ/พื้นที่ สร้างความเป็นไปได้บนฐานสุนทรียะชีวิตและผลิตศิลปินร่วมสมัย

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ : Bachelor of Fine Arts (Media Arts and Design)
          จัดการศึกษาที่รวมความรู้ทางวิชาการด้านสื่อ ศิลปะ การออกแบบสื่อ ทฤษฎีทางสังคมร่วมสมัย และปฏิบัติการทางศิลปะ เน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นนักสร้างสรรค์ที่มีความคิดเชิงวิพากษ์

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการถ่ายภาพสร้างสรรค์ : Bachelor of Fine Arts (Creative Photography)
          เรียนรู้และฝึกฝนการแสดงออกผ่านสื่อภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ฝึกฝนและประยุกต์ใช้ทักษะเพื่อสร้างสรรค์ผลงานสู่สาธารณะ เปิดกว้างความคิดและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิตผ่านการท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้ความแตกต่างและหลากหลายของผู้คน โดยมีกล้องถ่ายภาพเป็นสื่อกลาง 

เรียนจบแล้วได้อะไรบ้าง?

          บุคลากรทางการศึกษา นักวิชาการ ศิลปิน นักออกแบบ นักวิจัย ผู้กำหนดทิศทางแนวโน้มความนิยม (Trend setter) ผู้ประกอบการอิสระ ภัณฑรักษ์ทางด้านศิลปะ ศิลปะร่วมสมัย จิตรกรรมไทย ประวัติศาสตร์ศิลป์ ศิลปวัฒนธรรมไทยและล้านนา การออกแบบ ศิลปะการแสดง สื่อเทคโนโลยี การถ่ายภาพ ดนตรีและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ค่าเล่าเรียน

ค่าธรรมเนียมการศึกษา แบบเหมาจ่าย ได้แก่
    สาขาวิชาการถ่ายภาพสร้างสรรค์                                          ภาคการศึกษาละ  28,000  บาท

    สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ                                ภาคการศึกษาละ  30,000  บาท

ค่าธรรมเนียมการศึกษา แบบรายภาคการศึกษา แบ่งเป็น
1. ภาคการศึกษาปกติ   ภาคการศึกษาละ 17,000 บาท
    ได้แก่ สาขาวิชาศิลปะไทยและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ สาขาวิชาศิลปะการแสดง สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ สาขาวิชาจิตรกรรม สาขาวิชาประติมากรรม และสาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์

2. ภาคการศึกษาปกติ ภาคการศึกษาละ 19,000 บาท
ได้แก่ สาขาวิชาการออกแบบ

ข้อมูลการรับเข้าศึกษา TCAS

สามารถดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์
สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ : 053-944812
Facebook : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เว็บไซต์ : www.finearts.cmu.ac.th

อาจารย์ที่ได้รับรางวัล

นักศึกษา และศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัล

สุรชัย พุฒิกุลางกูร

  • ศิษย์เก่าคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่นที่ 1 สาขาวิชาจิตรกรรม

ผลงานและรางวัลที่ได้รับ

  • ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศิลปิน “ศิลปาธร” ประจำปี 2563 สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ
  • Illustrator โฆษณาอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกัน 8 ปีติดต่อกัน จากการจัดอันดับของนิตยสาร Lürzer’s Archive

พาณิชย์ สดสี

  • สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประติมากรรม
  • ศิษย์เก่าคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่นที่ 2 

ผลงานและรางวัลที่ได้รับ

  • ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กรรมการ, กรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม GROUP CEO บมจ. เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

 

ดาวน์โหลด PDF:

ยังไม่มีไฟล์ดาวน์โหลด

คณะวิจิตรศิลป์

  • ดาวน์โหลด PDF: ยังไม่มีไฟล์ดาวน์โหลด